วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เทศกาลโอบ้ง (Obon お盆)


เทศกาลโอบ้ง (Obon お盆)
ตรงกับวันที่ 13-16 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งคนญี่ปุ่นไม่ว่าจะไปอยู่แห่งหนตำบลใดจะพยายามกลับมายังบ้านเกิดของตนเองเพื่อมากราบไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว คนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าดวงวิญญาณของบรรพบุรุษจะได้รับอนุญาติให้กลับมายังโลกอย่างอิสระในช่วงเวลานี้ ดังนั้นบุตรหลานจะเตรียมสำรับอาหารต่างๆพร้อมดอกไม้ไว้บนหิ้งที่กราบไหว้บรรพบุรุษซึ่งมีชื่อเรียกว่า “บุสึดัง” เพื่อต้อนรับดวงวิญญาณและไปกราบไหว้พร้อมทำความสะอาดหลุมศพ (โอฮากะ Ohaka ) จะมีการจุดไฟต้อนรับที่หน้าบ้านและในวันสุดท้ายจะจุดไฟ “โอคุริบิ (Okuribi)” เพื่อส่งกลับวิญญาณบรรพบุรุษว่าไปแล้วก็คล้ายช่วงเช็งเม้งของบ้านเราเพียงแต่นอกเหนือจากพิธีกรรมที่กล่าวมาแล้วเค้ายังมีการจัดเฉลิมฉลอง “เทศกาลโอบ้ง” หรือ "โอบ้งมาซึรี " แทบจะทุกท้องถิ่นคล้ายๆงานวัดในบ้านเรา จะมีการตีกลองพร้อมเต้นรำกันอย่างครื้นเครงซึ่งจะจัดกันเกือบ 1 เดือนเต็มโดยจัดตามที่ต่างๆที่ละ 3-4 วัน เชื่อว่าเป็นการสร้างความสุขให้กับดวงวิญญาณก่อนเดินทางกลับไปยังสรวงสวรรค์


มีการจุดคบกองไฟซึ่งเรียกว่า "มุคาเอฮิ (Mukaehi)" เพื่อให้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษได้เดินทางกลับมาหรือกลับไปโดยไม่หลงทางไปไหน บางสถานที่ใมีการก่อไฟเป็นรูปตัวอักษรอย่างเช่นที่จังหวัดเกียวโตทุกๆปีจะมีจุดอักษรคันจิคำว่า “ ได(Dai大) ” มีความหมายว่ายิ่งใหญ่ที่วัด " ไดม่อนจิ (Daimonji 大文字)" ซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงของเกียวโต ทางวัดได้จุดคบไฟบนภูเขาซึ่งสามารถเห็นในระยะไกลจนเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเทศกาลโอบ้งนี้โดยจุดคบไฟเช่นนี้ สืบเนื่องกันมาตั้งแต่ในสมัยเอโดะ


ติดต่อสอบถามท่องเที่ยว
http://www.iam-tour.com/


เทศกาลวันเด็กผู้ชาย หรือ โคโดโมะโนฮิ (Kodomonohi)!!



         เทศกาลวันเด็กผู้ชายนี้ ทางญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลการเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญ ในวันที่ 5 เดือน 5 (พฤษภาคม) นี้มาจากประเทศจีน และหมู่บ้านในตระกูลนักรบทั้งหลาย เมื่อให้กำเนิดบุตรชายจะนำธงสัญลักษณ์ประจำตระกูลติดประดับไว้หน้าประตูทางเข้า จนกระทั่งแพร่หลายไปในหมู่บ้านของประชาชนทั่วไป แต่ด้วยมีคำสั่งที่ไม่อนุญาติให้ประชาชนติดตั้งตรา หรือธงประจำตระกูลได้ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นธงปลาคาร์ฟ เพื่อความหมายที่เป็นสิริมงคลแก่บุตรชายและครอบครัว
               
           ในบ้านมีการจัดพิธีบูชาตุ๊กตานักรบ ซึ่งประกอบด้วยเสื้อเกราะ หมวกเกราะหรือที่เรียกว่า “โกะงัสสึ นิงเงียว”เพื่ออธิษฐานขอให้บุตรชายที่รักมีสุขภาพแข็งแรง ไร้โรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ยังมีการใช้ดอกโชบุและดอกคะชิวะและโมะติ ประดับไว้กับตุ๊กตานักรบที่ชื่อว่า Kabuto และมีการดื่มสาเกฉลองเช่นเดียวกับเทศกาลวันเด็กผู้หญิง
Kabuto 

          โดยเทศกาลนี้เริ่มทำกันมาตั้งแต่สมัยเอโดะ จนกระทั่งปี 1948 ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดให้วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเด็กผู้ชาย และธงปลาคาร์ฟจึงเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเทศกาลนี้ ธงปลาคาร์ฟทั่วๆ ไปที่ ประดับกันนั้นทำจากกระดาษหรือผ้าที่มีขนาดประมาณ 1-2 เมตร นำไปแขวนบนเสาที่ติดไว้บริเวณระเบียงบ้าน สำหรับเสาและธงนั้น ตามมาตราฐานแล้ว ด้านบนของเสาจะเริ่มจากธงสีสายรุ้งที่ไม่ได้เป็นรูปปลาคาร์ฟ ถัดมาจึงเป็นปลาคาร์ฟสีดำ หมายถึงพ่อ ตามด้วยปลาคาร์ฟสีแดง หมายถึงแม่ และจะตามด้วยปลาคาร์ฟตัวเล็กๆ ลดหลั่นกันไปตามจำนวนลูกผู้ชายในบ้าน ซึ่งจะมีทั้งสีฟ้าและสีเขียว

           นอกจากนี้ การประกาศให้วันที่ 5 พฤษภาคม เป็นวันเด็ก และเป็นวันหยุดราชการ จึงทำให้ชาวญี่ปุ่นมีวันหยุดติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอยู่ในช่วง Golden Week สัปดาห์ของการพักผ่อนของทุกปีนั้นเอง ทำให้ชาวญี่ปุ่นได้หยุดยาวกันตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้าย วันประสูติของจกรพรรดิโชวะ ปัจจุบันเรียกว่า วันมิโดริหรือวันสีเขียว เพื่อรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ต้นไม้ ถัดมาคือวันหยุดวันที่ 3 ฟฤษภาคม ที่เป็นวัน รัฐธรรมนูญ ต่อมาเป็้นวันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันหยุดประชาชาติ และ 5 พฤษภาคม นี้ ก็เป็นวันเด็กแห่งชาติ นั่นเอง

ติดต่อสอบถามท่องเที่ยว
http://www.iam-tour.com/

เทศกาลวันฉลองบรรลุนิติภาวะ"เซะจิน โนะ ฮิ" !!



 
วันฉลองบรรลุนิติภาวะ ทุกวันจันทร์ที่ 2 มกราคมของทุกปี สำหรับคนญี่ปุ่นถือเป็น วันหนึ่งที่มีความสำคัญถึงกับได้รับการยกให้เป็นวันหยุดนักขัตรฤกษ์เลยทีเดียว ซึ่งวันนั้น ก็คือ วันฉลองบรรลุนิติภาวะ 成人の日( seijin no hi ) ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษ จะได้ว่า Coming of Age day ซึ่งถ้าแปลตามตัวกันจริงๆ ก็คือ วันผู้ใหญ่ หรือวันสำคัญของการก้าวย่างสู่ความเป็นผู้ใหญ่


วันฉลองบรรลุนิติภาวะนี้ ก่อนปี 2000 นั้น ถูกกำหนดไว้เป็นทุกวันที่ 15 มกราคมของทุกปี แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านกฎหมาย ทำให้มีการเปลี่ยนวันฉลองบรรลุนิติภาวะนี้ ให้เป็นวันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมแทน เพื่อที่จะมีผลทำให้ เกิดวันหยุด 3 วันติดต่อกัน (คือวันเสาร์ อาทิตย์ และจันทร์) ซึ่งมักเรียกกันโดยทั่วไปว่า ซุปเปอร์มันเดย์ ซึ่งจะเป็นวันหยุดแรก หลังจากเปิดทำงานหลังเทศกาลขึ้นปีใหม่

        ในวันฉลองบรรลุนิติภาวะนั้น ทางเมืองต่างๆ จะจัดพิธีมอบประกาศนียบัตร และให้โอวาทกับกลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็นผู้ใหญ่รุ่น ใหม่ ในพิธีบรรลุนิติภาวะ หรือ 成人式(seijin shiki )


ที่มาของวันฉลองบรรลุนิติภาวะนี้ มีที่มาจากพิธีที่จัดขึ้นในสมัยโบราณเพื่อรับรองว่าเด็กผู้ชายที่มีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ได้ เปลี่ยนสถานภาพเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว เรียกว่า 元服 (genpuku)

 

ส่วนรูปแบบที่ได้มีการพัฒนามาเป็นวันฉลองบรรลุนิติภาวะอย่างในปัจจุบันนั้น เริ่มมีมา ตั้งแต่หลังหมดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปีโชวะ 21 (ค.ศ. 1946) ทางรัฐบาลต้องการ เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้บรรดาเหล่าชายวัยรุ่นได้มีความหวังที่สดใส โดยในครั้ง แรก เรียกว่า 成年式 (seine n shiki) และในอีกสองปีต่อมา ปีโชวะ 23 (ค.ศ. 1948) ได้มีการกำหนดให้ทุกวันที่ 15 มกราคมของทุกปี เป็นวันทีจัดพิธี 成人式 ( seijin shiki ) ซึ่งในปี 2000 ได้เปลี่ยนเป็นทุกวันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม


ติดต่อสอบถามท่องเที่ยว
http://www.iam-tour.com/

รวมผลงานซีรี่ย์ คาเมนาชิ !!



Tokyo Bandwagon (NTV,2013)


ซีรีย์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของร้านขายหนังสือที่เป็นร้านขายหนังสือมือสองที่ชื่อว่า Tokyo Bandwagon ซึ่งตั้งอยู่ในแถบซานเมืองของโตเกียว ร้านนี้เป็นอาคารที่ดูเก่าแก่แต่ภายในร้านมีคาเฟ่เล็กๆ อยู่ภายในนี้ด้วย มันเป็นที่อาศัยของครอบครับขนาดใหญ่อาศัยอยู่ด้วยกันถึงสี่รุ่นแล้ว และครอบครัวนี้ต่างก็ช่วยเหลือและช่วยหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ ตามคำสอนที่แปลกจากบรรพบุรุษของเขา โดย Ao Hotta (Kazuya Kamenashi) เขาเป็นชายหนุ่มอายุวัย 26 ปี เขาเป็น freelance travel agency guide เขาเป็นหนุ่ม Playboy ที่บรรดาสาวๆ ต่างพากันหลงใหลในตัวเขา และด้วยการพูดจาและท่าทางที่มักจะดู เคร้าๆ ทำให้สาวๆ บรรดาใจอ่อนให้กับเขา แต่เขามาพบกับ มาคิโนะ ซูซูมิ เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ทำให้เขาตกหลุมรักเธอแบบทั้งกายทั้งใจ ... แล้วเขาจะทำอย่างไรต่อไป โปรดติดตามชมซีรีย์เรื่องนี้

Yakai Ningen Bem


เบม (คาเมะนาชิ คาซึยะ), เบลล่า (แอน) และ เบลโล่ (ซูซูกิ ฟุคุ) เป็นสัตว์ประหลาดหน้าตาอัปลักษณ์ที่ไม่ได้เป็นทั้งมนุษย์หรือสัตว์ แต่พวกเขาเป็นฮีโร่ที่รักความสงบและความถูกต้องที่ใส่ใจช่วยเหลือมนุษย์ที่ กำลังเดือนร้อน เพราะว่าพวกเขาเป็นสัตว์ประหลาด จึงเป็นที่กลัวและรังเกียจโดยพวกมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้นยังถูกตามล่าโดยตำรวจ อย่างไรก็ตาม มิตรภาพระหว่างพวกเขากับนักสืบ (คิตามุระ คะซุกิ) พัฒนาขึ้นโดยความบังเอิญ เมื่อได้ติดต่อคบกับมนุษย์ ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของ เบม, เบลล่า และ เบลโล่ ที่อยากจะกลายเป็นมนุษย์ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาต่อสู้กับปิศาจร้ายเพื่อปกป้องมนุษย์ ด้วยความเชื่อว่าพวกเขาจะสามารถกลายเป็นมนุษย์ได้ในวันหนึ่ง


Yamato Nadeshiko Shichi Henge as Takano Kyohei (TBS, 2010)


คาเมนาชิ แสดงในบทหนุ่มหล่อ ใจร้อน และชอบวิวาท เป็นนศ.มหาวิทยาลัยที่แข็งแกร่งผู้ไม่เคยแพ้ใคร 
และยังจะมีหนุ่มหล่ออีก 3 คนร่วมทีมซึ่งเช่าห้องอยู่ในบ้านหลังเดียวกับคาเมนาชิ ประกอบด้วยเทโกชิ ยูยะจากวงนิวส์ 
อุจิ ฮิโรกิ จากค่ายจอห์นนี่ จูเนียร์ และนักบัลเล่ต์มิยาโอะ ชุนทาโร่ รวมทั้งนางเอกของเรื่องจะแสดงโดยนักแสดงวัยรุ่นที่เป็นที่นิยม 
โอมาซะ อายะ โอมาซะแสดงเป็นนางเอกที่แปลกอยู่สักหน่อย เพราะโปรดปรานเรื่องสยองขวัญ แต่ต้องมาเกี่ยวพันกับ 4 หนุ่มหล่อ 
เป็นละครโรแมนติค สยองขวัญ คอเมดี้ ที่จะให้คุณกลัว หัวเราะและร้องให้


Mr. Brain (TBS, 2009, ep. 03)


เป็นซีรี่ส์ที่สะท้อนมุมมองการทำงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ประสาทวิทยา แพทย์ และตำรวจผู้พิทักษ์ประชาชน นำแสดงโดยนักแสดงชื่อดังอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ทาคุยะ คิมุระ กับบทบาทของ คนบ๊องๆ แต่ อัฉริยะเกินคน เขาคือนักประสาทวิทยา ที่ทำงานให้กับสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์

Kami no Shizuku [神の雫] (NTV : 2009-Jan-13 to 2009-Mar-10)


1 Pound no Fukuin [1ポンドの福音] (NTV : 2008.01.12~21.00)


ฮาทานากะ โคซากุ เป็นนักชกคนเก่งของสำนักมวยมูไคดะ เค้าชกเก่ง มากแต่ทว่า เขาไม่สามารถควบคุมความอยากอาหารได้ เขากินๆๆๆ ทำให้น้ำหนัก เพิ่ม ก็เลยถูกบังคับให้ต้องแข่งในมวยรุ่นใหญ่กว่า ทำให้ผลออกมาแย่ ซิสเตอร์ แองเจล่า เป็นแม่ชีฝึกหัด ตกหลุมรัก โคซากุ เธอคอยให้กำลังใจเขา และทำทุก อย่างที่คิดว่าจะลดน้ำหนักโคซากุได้ เธอรู้ว่าโคซากุรักเธอและ เธอก็ดูเหมือนจะรัก เขาเช่นกัน(แม้เธอจะไม่ยอมรับมัน) แต่ทว่า...นางชี...ไม่สมควรจะมีความรัก แล้ว รักของเขาทั้งสองจะสมหวังได้อย่างไร..... 


Tatta Hitotsu no Koi [たったひとつの恋] (NTV : 2006.10.14~12.16)


ละครความรักที่น่าประทับใจอีกเรื่องที่ไม่ควรพลาด เด็กหนุ่มฮิโรโตะ คันซากิที่เป็นลูกชายของเจ้าของโรงซ่อมเรือ เขาต้องเป็นเสาหลักสำคัญของครอบครัวต้องคอยแก้ปัญหาด้านการเงินของครอบครัว แต่เพราะเหตุบังเอิญทำให้เขาได้รู้จักกับนาโอะที่เป็นผู้หญิงที่ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งเป็นลูกสาวของเจ้าของจิวเวอร์รี่ใหญ่ ความรักของพวกเขาจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ นานา และยังต้องเผชิญกับความแตกต่างของฐานะของทางครอบครัวทั้งสอง พวกเขาจะสามารถครองรักกันได้หรือไม่ หรือจะเป็นได้เพียงแต่ความงดงามของความรักในวัยรุ่น อีกเรื่องที่ขอการันตีว่าไม่ควรพลาดจากนักเขียนคนเดียวกับเรื่อง Long Vacation


Yuuki [ユウキ] (NTV : 2006.08.26)





 Sapuri [サプリ] (FujiTV : 2006.07.10~09.18)



Minami (Itoh Misaki) พนักงานบริษัทโฆษณา เธอเป็นผู้หญิงเก่งที่ชอบการทำงาน พร้อมเสมอที่จะทุ่มเทเวลาให้ถ้าเป็นเรื่องของงาน วันหนึ่งเธอเก็บโทรศัพท์มือถือที่ทำตกในรถไฟได้เพราะเจ้าของโทรศัพท์โทรเข้ามาซึ่งก็คือ Yuya (Kamenashi Kazuya) เขามีนัดที่จะไปสัมภาษณ์เพื่อเป็นเด็กฝึกงาน แต่เขาก็สองจิตสองใจ โดยพูดให้มินามิฟัง ซึ่งกลายเป็นว่าเขาก็โดนมินามิดุว่าถ้าคนเราไม่ทำงานมันไม่ได้นะ มินามิบอกว่าจะเอาโทรศัพท์มือถือไปไว้ให้ที่จุดของหาย สองคนนี้จึงไม่ได้เจอกัน อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ต้องพบกันอยู่ดี เพราะบริษัทที่ยูยะไปเป็นเด็กฝึกงานก็คือบริษัทโฆษณาของมินามินั่นเอง


Nobuta wo Produce [野ブタ。をプロデュース] (NTV : 2005.10.15~12.17)


ชูจิ คิริทานิ เป็นนักเรียนหนุ่มป๊อปปูล่าในโรงเรียน เขาเป็นจอมโกหกและไม่เปิดเผยตัวจริง ซึ่งอันที่จริงเขาเพียงแค่เบื่อหน่ายกับชีวิตวัยเรียนและสังคมเดิมๆ เขาเห็นว่าการเป็นที่นิยมชมชอบของเพื่อนๆ มันเป็นเพียงแค่เกมเกมหนึ่งที่เขามีส่วนร่วมอยู่ในนั้นและเล่นบทบาทของชูจิ และทำทุกอย่างเพียงเพื่อคงสถานะความเป็นนักเรียนที่โรงเรียนนั้น เพราะฉะนั้นเขาคบอยู่กับ มาริโกะ อุเอฮาระ นักเรียนสาวที่น่ารักที่สุดในโรงเรียน ทว่าเขากลับไม่ได้รู้สึกพิเศษอะไรกับเธอเลยและโกหกเธอมาตลอด และแม้กระทั่งความรู้สึกกับเพื่อนนักเรียนชายเช่นกัน 


Gokusen 2 [ごくせん 第2] (NTV : 2005.01.15~03.19)


เมื่อคุมิโกะ ยามากุจิพบกับเด็กนักเรียนห้อง 3-D จึงรู้ว่าในห้องมีแต่เด็กเกเรไม่เชื่อฟังในสิ่งที่เธอพูด เธอพยายามให้กำลังใจตนเองทุกครั้ง สาเหตุที่เด็กนักเรียนห้อง 3-D เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าพวกเขาไม่ไว้ใจอาจารย์์ แต่สำหรับ คุมิโกะ ยามากุจิอยากให้ลูกศิษย์ในห้อง 3-D เข้าใจและมั่นใจในตัวเธอเธอให้ความสำคัญกับเด็กนักเรียนในห้องทุกคน เด็กนักเรียนที่มีค่าสำหรับเธอ

คุมิโกะ ยามากุจิต้องใช้ความพยายามที่จะปรับตัวกับนักเรียนและให้ตั้งใจกลับมาเรียนให้ได้ก่อนที่พวกเขาจะเรียนจบ เรื่องราวความเข้มข้นนั้นต้องคอยติดตามในละคร รับรองว่าไม่สนุกแพ้ภาคหนึ่ง


ติดต่อสอบถามท่องเที่ยว


มาทำความรู้จักกับอักษรญี่ปุ่นกันเถอะ!!

ในภาษาญี่ปุ่นจะใช้อักษรอยู่ 3 ประเภท คือ


(1) อักษรฮิระงะนะ 『ひらがな』
- เป็นอักษรดั้งเดิมของญี่ปุ่นเลยค่ะ ใช้เขียนคำที่แสดงความหมายหลัก ๆ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือใช้เขียนคำของภาษาญี่ปุ่นแท้ ๆ ค่ะ
- บางที เราก็จะเห็นว่าอักษรนี้เขียนกำกับเสียงอ่านอยู่บนตัวอักษรคันจิ ซึ่งตรงนี้เราจะเรียกอีกอย่างว่า "ฟุริงะนะ" ค่ะ 『ふりがな』
- ลักษณะของอักษรฮิระงะนะ ใช้วิธีการจำง่าย ๆ ว่ารูปร่างของมันจะอ่อนช้อยราวกับเกอิชาร่ายรำค่ะ


(2) อักษรคะตะคะนะ 『カタカナ』
- เป็นอักษรที่ใช้ทับศัพท์ภาษาที่มาจากต่างประเทศค่ะ เช่น ชื่อเฉพาะหรือคำศัพท์ต่าง ๆ ชื่อบุคคล, สถานที่หรือพวกชื่อพืชและสัตว์ คำเลียนเสียง หรือใช้กรณีที่ต้องการเน้นคำก็ได้ค่ะ
- ลักษณะของอักษรคะตะคะนะ เมื่อลองเปรียบเทียบกับกับฮิระงะนะแล้ว อักษรคะตะคะนะจะมีลักษณะดูแข็ง ๆ ไม่อ่อนช้อยค่ะ แต่ก็มีอักษรคะตะคะนะบางตัวที่คล้ายกับอักษรฮิระงะนะนะคะ ยังไงก็ต้องระวังด้วยค่ะ


(3) อักษรคันจิ 『漢字』
- เป็นอักษรที่คนญี่ปุ่นยืมเข้ามาจากจีนค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเหมือนคำจากภาษาจีนเลย แต่ก็จะมีบางคำที่ญี่ปุ่นนำมาดัดแปลงเอง
- ใช้แสดงความหมาย เช่น พวกคำนาม คำกริยา ฯลฯ
- อักษรคันจินั้นอักษรแค่ 1 ตัวจะแทนทั้งเสียงและความหมาย (เราจะเห็นว่าคนญี่ปุ่นชอบนำอักษรคันจิมาใช้ผสม ๆ กันทำเป็นชื่อพิเศษต่าง ๆ ที่ดูแล้วเท่ ๆ ไงคะ)
- คนญี่ปุ่นมักจะนำอักษรคันจิมาใช้คู่กับฮิระงะนะหรือคะตะคะนะ หรือบางทีก็ใช้ตัวเดียวโดด ๆ ไปเลยค่ะ
- เสียงอ่านของอักษรคันจิจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบ "คุงโยมิ" 『訓読み』 และ "องโยมิ" 『音読み』 ค่ะ
- เสียงแบบ "คุง" จะเป็นเสียงอ่านแบบญี่ปุ่น ซึ่งมักอ่านแบบนี้เมื่อเจอคันจิผสมมากับฮิระงะนะค่ะ ส่วนเสียงแบบ "อง" จะเป็นเสียงอ่านแบบจีน จะอ่านแบบนี้เมื่อเจอคันจิตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป แต่ก็ไม่มีกฏตายตัวค่ะ
- ในประเทศญี่ปุ่นมีการบัญญัติให้อักษรคันจิ 1,945 ตัวเป็น "โจโยคันจิ (คันจิที่ใช้บ่อย)" 『常用漢字』 เพื่อจำกัดจำนวนคันจิในระดับหนึ่ง เพื่อไม่ให้มีคันจิยาก ๆ มากเกินไปค่ะ (แต่ก็มีคันจิยาก ๆ ใช้บ้างประปราย)



ติดต่อสอบถามท่องเที่ยว
http://www.iam-tour.com/


ประโยคสนทนาทักทายพื้นฐานญี่ปุ่น!!!


1.おはようごさいます。: Ohayoogosaimasu. : สวัสดีตอนเช้าค่ะ

2. こんいちは。: Konnichiwa : สวัสดีตอนกลางวันค่ะ (10.00-18.00 น.)

3. こんばんは。: Kombanwa : สวัสดีตอนค่ำค่ะ

4. おやすみなさい。: Oyasuminasai : ราตรีสวัสดิ์

5. さよなら。: Sayonara : ลาก่อน

6. わたし は ชื่อของเรา です。: Watashi wa ชื่อของเรา desu : ฉัน/ผมชื่อ ชื่อของเรา

7. はじめまして、どうぞよろしく。(おねがいします) : Hajimemashite、doozo yaroshiku (Onegai shimasu) : ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันค่ะ (ขอความกรุณา)

8. はい、そうです。: Hai、soodesu : ใช่แล้วค่ะ (ใช้ในการตอบรับได้ทุกกรณี)

9. いいえ、ちがいます。: Iie、chigaimasu : ไม่ใช่ค่ะ (ใช้ในการปฏิเสธได้ทุกกรณี)

10. おげんきですか?。: Ogenki desuka : สบายดีหรือค่ะ

11. はい、げんきです。: Hai、genki desu : ค่ะ、สบายดีค่ะ

13. いいえ、げんきではありません。: Iie、genkidewa arimasen : ไม่ค่อยสบายค่ะ

14. ありがとうございます。: Arigatoo gozaimasu : ขอบคุณค่ะ

15. どういたしまして。: Doo itashimashite : ไม่เป็นไรค่ะ

16. ではまて、ありましょ。: Dewa、mata aimasho : แล้วพบกันใหม่

17. はい、またあいましょ。: Hai、mata aimasho : ค่ะ、แล้วพบกันใหม่

18. すみません。: Somimasen : ขอโทษ (ขอทาง , สอบถาม)

19. ごめんあさい。: Gomennasai : ขอโทษ

20. しつれいします。: Shitsureishimasu : ขอโทษ (ที่เสียมารยาท , ขออนุญาต , ขอโทษที่รบกวน)

21. おめでとうごさいます。: Omedetoogosaimasu : ขอแสดงความยินดี (ใช้ได้ทุกโอกาส เช่น วันเกิด , สำเร็จการศึกษา)

22. いってきます。: Ittekimasu : ไปแล้วนะ (ใช้เมือ่ออกจากบ้าน)

23. いって (い) らっしゃい。: Itte (i) rasshi : รีบไปรีบมานะ

24. ただいま。: Tadaima : กลับมาแล้วนะ

25. おかえりなさい。: Okaerinasai : กลับมาแล้วหรอ

26. いただきます。: Itadakimasu : ใช้พูดก่อนเริ่มรับประทานอาหาร

27. ごちそうさまでした。: Gochisoosamadeshite : ใช้พูดเมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว


ติดต่อสอบถามท่องเที่ยว
http://www.iam-tour.com/

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พี่มากพระโขนง เข้าฉายแล้วที่ญี่ปุ่น!!



พี่มากพระโขนง หนังที่ทำรายได้สูงสุดหลายประเทศกำลังจะเข้าฉายที่ญี่ปุ่น หลังญี่ปุ่นได้ชื้อตัวหนังไปเรียบร้อยแล้วและเตียมจะเข้าฉายในวันที่ 18 ตุลาคม นี้ โดยใช้ชื่อเรื่องว่า 愛しのゴースト แปลว่า ผีที่รัก โดยจะฉายทั้งหมดสี่โรง คือ
โตเกียวที่  Roppongi และ Shibuya
ชิบะ โรงละคร Kinema Junpo
โอซาก้า  Cine Libre Umeda

                                  
และถูกฉายไปก่อนแล้วช่วงระหว่างวันที่ 13 - 23 กันยายน 2556 ที่ฟุคุโอกะมีงาน Focus on Asia Fukuoka International Film Festival เป็นงานที่จัดขึ้นทุกปี มีภาพยนต์จากหลาย ๆ ประเทศมาฉาย เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี ไทย ฯบัตรราคา 1200 เยน ถ้าซื้อล่วงหน้า 1000 เยน ถ้า 4000 เยน ได้ตั๋ว 5 ใบ
แล้วก็มีแบบดูกี่รอบก็ได้ 10000 เยน

โดยมีหนังไทยมาฉายเรื่องเดียวคือ พี่มาก
พี่มากมีฉายทั้งหมด 4 รอบ คือ


โปสเตอร์หน้าโรง


           สรุป จากคนญี่ปุ่นที่ไปดูก็เหมือนที่พอจะเข้าใจภาษาไทยบ้าง เขาก็ขำ แต่ก็ไม่ทุกมุข
พอหนังจบแล้วเขาบอกว่า เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง บางมุขก็ยากเกินกว่าจะเข้าใจ เช่น ใบ้คำว่า ผีเสื้อ
เพราะดูจากตัวคันจิภาษาญี่ปุ่นที่แปลแล้ว เป็นเราเราก็ไม่ขำ
แต่ฉากที่ขำกันเยอะ ๆ ก็เช่น ตกบันได พายเรือวน คือถ้าขำด้วยแอ็คชั่นเขาก็จะขำกัน
ถ้าขำด้วยคำพูด บางทีมันแปลยาก ไม่ค่อยเก็ท  ตอนจบที่ซึ้ง ๆ จากที่ดูสองรอบ คนก็ร้องไห้กันทั้งสองรอบ    ตรงนี้หนังสื่อออกมาได้ดีมาก ไม่ต้องใช้ภาษาพูดอะไรมาก ก็เข้าใจง่าย ซึ้งตามไปด้วย


ติดต่อสอบถามท่องเที่ยว
http://www.iam-tour.com/